หน้าหลัก      เกี่ยวกับศูนย์

ศูนย์เครือข่ายนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านผ้าทอพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยพายัพ เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เช่น การอบรมให้ความรู้และทักษะด้านผ้าทอพื้นเมือง รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลด้านผ้าทอพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบนให้เป็นระบบ การพัฒนาฐานข้อมูลให้ง่ายต่อการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย และบุคคลที่สนใจทั่วไป เช่น ข้อมูลนักวิจัยด้านผ้าทอพื้นเมือง ผู้มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้า ซึ่งสามารถส่งเสริมการใช้เทคนิคการทอผ้าแบบใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถทอผ้าที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น รวมถึงการดำเนินกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการที่ยังขาดโอกาสด้านวิชาการ ด้านเทคนิคการทอผ้าพื้นเมือง ด้านเทคนิคการย้อมผ้า ด้านการตลาด e-commerce ด้านการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เอื้อให้เกิดความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายในกลุ่มชุมชนของศูนย์ฯ สนับสนุนให้บริการใช้พื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) และบริการใช้พื้นที่สำหรับนักประดิษฐ์ (Makerspace) รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในการผลิต เพื่อขยายตลาดผ้าอาเซียนสู่ประชาคมโลก นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาผู้ประกอบการผ้าทอพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน ให้เกิดการพัฒนาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

การบริหารจัดการ Spoke กระบวนการ และการเชื่อมโยงกับศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ / ภาคส่วนอื่นๆ

มหาวิทยาลัยพายัพ ได้มีการรวบรวมข้อมูลเครือข่ายนักวิจัยด้านผ้าทอพื้นเมือง และสามารถเชื่อมโยงผู้มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้า ผู้ทรงคุณวุฒิและนักสะสมผ้าที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มผ้าประเภทต่าง ๆ จำนวน 9 กลุ่มผ้า ได้แก่

  • ผ้าในราชสำนักและสามัญชนแห่งพม่าและรัฐฉาน โดย คุณอัครเดช นาคบัลลังค์
  • ผ้ากลุ่มชนชาติไทในอันนัม และแดนดวงจำปา ผ้าไทยในแดนอีสาน โดย คุณแก้วศิริ เอเวริงค์แฮม
  • ผ้าทอไทยวนแห่งล้านนา เป็นผ้าในแถบทางเหนือของไทย เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน โดย คุณอัญชลี ศรีป่าซาง
  • ผ้ากลุ่มหลี ไทกะไดแห่งไหหนาน ซึ่งเป็นชาติพันธุ์แห่งไหหนานทางจีนตอนใต้ โดย คุณชนิพร ปันทะเลิศ
  • ผ้าทอชาวไทลื้อแห่งลุ่มน้ำโขง โดย รศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากูล
  • ผ้าแห่งความศรัทธา ซึ่งเป็นกลุ่มผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ โดย ผศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง
  • ผ้าจกจากลุ่มน้ำลี้สู่ลุ่มน้ำปิง โดย คุณบัญชา อุดโพธิ์
  • ผ้าสีสันแห่งพืชพันธุ์ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  • ผ้าไทยวนเชียงแสนในดินแดนราชบุรี โดย คุณนงค์รักษ์ เหลืองทองคำ

เป้าหมาย

  • ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์เป็นพื้นที่ตั้งอยู่ในสถานที่จริง หรือเป็นพื้นที่เสมือนในโลกออนไลน์
  • ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์บริหารงานโดยใช้รูปแบบธุรกิจแบบใหม่ และแบบผสม
  • ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจจากความเป็นผู้นำรูปแบบใหม่ สร้างนวัตกรรมทางสังคมแบบใหม่เพื่อสนับสนุนการลงทุน
  • เป็นพื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) และพื้นที่นักประดิษฐ์ (makerspace)

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นศูนย์เครือข่ายนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านผ้าทอพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน
  • เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กระจายความรู้ และเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ด้านผ้าทอพื้นเมือง
  • เพื่อดำเนินกิจกรรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการทอผ้าพื้นเมือง การย้อมสีธรรมชาติ และด้านการตลาด

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการด้านการทอผ้า สถาบันการศึกษา และผู้ที่สนใจ โดยศูนย์เครือข่ายนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านผ้าทอพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน จะพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่ผู้ประกอบการผ้าทอพื้นเมืองทุกราย สถาบันการศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี

การจัดตั้ง Spoke ภายใต้ศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภาคเหนือตอนบน มีดังต่อไปนี้

  1. ศูนย์เครือข่ายนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านผ้าทอพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยพายัพ
  2. ศูนย์เครือข่ายนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านอุตสาหกรรมเซรามิก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  3. ศูนย์เครือข่ายนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

พันธกิจ

  • พรีเมียม โอทอป
  • บริการที่มีมูลค่าสูง
  • สตาร์ทอัพ
  • สโปค

เป้าหมาย

  • ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์เป็นพื้นที่ตั้งอยู่ในสถานที่จริง หรือเป็นพื้นที่เสมือนในโลกออนไลน์
  • ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์บริหารงานโดยใช้รูปแบบธุรกิจแบบใหม่ และแบบผสม
  • ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจจากความเป็นผู้นำรูปแบบใหม่ สร้างนวัตกรรมทางสังคมแบบใหม่เพื่อสนับสนุนการลงทุน
  • เป็นพื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) และพื้นที่นักประดิษฐ์ (makerspace)

วัตถุประสงค์

  • สนับสนุนการพัฒนาแนวคิด โครงการ หน่วยงาน และธุรกิจซึ่งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ฯ
  • เอื้อให้เกิดความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายในกลุ่มชุมชนของศูนย์ฯ สนับสนุนให้บริการใช้พื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) และบริการใช้พื้นที่สำหรับนักประดิษฐ์ (makerspace)
  • เชื่อมสัมพันธ์กับศูนย์วิจัยและพัฒนา สถาบัน ภาคส่วนสร้างสรรค์ และภาคส่วนอื่น ๆ
  • สื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมในวงกว้าง พัฒนากลยุทธ์ทางการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศ และส่งเสริมผู้มีความสามารถหน้าใหม่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • เกิดการพัฒนาแนวคิด โครงการ หน่วยงาน และธุรกิจซึ่งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ฯ
  • ทำให้เกิดความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายในกลุ่มชุมชนของศูนย์ฯ และการให้บริการใช้พื้นที่ทำงานร่วมกัน (co-working space) และบริการใช้พื้นที่สำหรับนักประดิษฐ์ (makerspace)
  • ทำให้เกิดการเชื่อมสัมพันธ์กับศูนย์วิจัยและพัฒนา สถาบัน ภาคส่วนสร้างสรรค์และภาคส่วนอื่น ๆ
  • ทำให้เกิดการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมในวงกว้าง เกิดการพัฒนากลยุทธ์ทางการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศ และส่งเสริมผู้มีความสามารถหน้าใหม่

กลุ่มเป้าหมาย

  • บุคคลทั่วไป บุคคลากรในสถาบันเครือข่าย นักวิจัย ผู้ประการ และนักเรียนนักศึกษา
slot pg https://president.tru.ac.th/video/

Text